คำพิพากษาฎีกาที่ 1560/2559

 

          จำเลยที่ ๑ (นายจ้าง) เป็นสถาบันซึ่งลูกจ้างทำงานโดยมิได้แสวงหาผลกำไรในทางเศรษฐกิจ ซึ่งกฎกระทรวง พ.ศ. 2541 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉบับลงวันที่ 17 สิงหาคม 2541 ข้อ (๓) มิให้ใช้บทบัญญัติหมวดที่ 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึง 122 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้าลูกจ้างที่มิได้แสวงหาผลกำไรในทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกจ้างโจทก์ (ลูกจ้าง)หรือไม่ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
          การที่ฝ่ายบุคคลของจำเลยที่ ๑ มีหนังสือถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ไม่ต่อสัญญาจ้างและแจ้งเตือนให้โจทก์ทราบถึงการสิ้นสุดสัญญาของสัญญาจ้างตามที่ตกลงกันไว้แล้ว อีกทั้งจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นอธิการบดีของจำเลยที่ ๑ ยังได้มีหนังสือถึงโจทก์ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่สัญญาจ้างครบกำหนดถึงประมาณ ๔ เดือน อันเป็นการบอกล่าวล่วงหน้าโดยชอบด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 วรรคหนึ่ง ทั้งตามสัญญาจ้างฉบับสุดท้ายก็กำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ชัดแจ้งแล้ว เมื่อถึงวันดังกล่าวสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดตามที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและยังไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันที่จำเลยที่ ๑ จะต้องชดใช้ค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ด้วย

 **********************************************************************

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 4681/2559

คำพิพากษาฎีกาที่ 4681/2559

การกระทำอย่างไรเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต...

อ่านต่อ »

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17582/2557

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17582/2557

ลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่ภายใต้พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานหรือไม่...

อ่านต่อ »