คำพิพากษาฎีกาที่ 1794-1795/2559

 

          พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 258 มาตรา 52 ที่ว่าห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้างหรือกระทำใด ๆ อันเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองกรรมการลูกจ้างเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง การที่นายจ้างจะกระทำการใดๆ ที่บัญญัติไว้เป็นผลเสียหายแก่กรรมการลูกจ้างจึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำดังกล่าวนั้นไม่ ซึ่งศาลแรงงานจะพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นและความเหมาะสมเพียงพอที่จะอนุญาตหาใช่พิจารณาว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นความผิดต่อกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงหรือไม่เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้คัดค้านทั้งสองที่แจ้งเรื่องที่มาประชุมให้พนักงานรับเหมาค่าแรงทราบ โดยไม่ได้พูดห้ามไม่ให้พนักงานรับเหมาค่าแรงไม่มาทำงานในวันหยุด การไม่มาทำงานในวันหยุดของพนักงานรับเหมาค่าแรง ที่ผู้ร้องถือเป็นเหตุขอให้ศาลแรงงานอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จึงไม่มีสาเหตุมาจากการที่แจ้งของผู้คัดค้านทั้งสองย่อมไม่เป็นเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองได้ แต่การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ปีนเข้าห้องพิมพ์งาน (Clean Room)  ผ่านช่องส่งงานโดยไม่ได้ใส่ชุดพิเศษที่จัดเตรียมไว้เพื่อป้องกันความเสียหายของสินค้าที่ผลิตตามระเบียบยังส่งผลกระทบต่อสินค้าที่ผลิตของผู้ร้อง โดยอาจทำให้สินค้าซึ่งเป็นแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย การกระทำของผู้คัดค้านที่ 2 ดังกล่าว เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นลูกจ้างที่ดีอย่างยิ่งและท้าทายต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างดีระเบียบเรียบร้อยและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ร้องโดยตรง จึงมีเหตุจำเป็นและเหมาะสมเพียงพอที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านที่ 2 ได้

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 4864/2559

คำพิพากษาฎีกาที่ 4864/2559

ลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานสถานหนักในรอบปีการทำงานที่จะจ่ายเงินโบนัส นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้าง...

 คำพิพากษาฎีกาที่ 1794-1795/2559

คำพิพากษาฎีกาที่ 1794-1795/2559

การกระทำอย่างไรที่ถือว่ากรรมการลูกจ้างประพฤติไม่เหมาะสมกับการเป็นลูกจ้างที่ดีและท้าทายต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยว....