คำว่า "เลิกสัญญา" ซึ่งหมายถึงกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานตามปกติ และมีคำว่า "ไล่ออก" ซึ่งหมายถึงกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานโดยทันที การเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อาจเป็นการกระทำของนายจ้างหรือลูกจ้างก็ได้ (โดยทั่วไป การเลิกสัญญาซึ่งกระทำโดยนายจ้างมักเรียกกันว่า "เลิกจ้าง" ส่วนการเลิกสัญญาซึ่งกระทำโดยลูกจ้างมักเรียกกันว่า "ลาออก") ดังนั้น การเลิกจ้างหรือการเลิกสัญญาโดยนายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเกิดขึ้นจากการกระทำของนายจ้างโดยการแสดงเจตนาเลิกสัญญาต่อลูกจ้างเท่านั้น ซึ่งการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจะกระทำโดยชัดแจ้งออกเป็นหนังสือเลิกจ้าง หรือบอกกล่าวด้วยวาจาต่อลูกจ้างหรือจะกระทำโดยปริยายในลักษณะที่ไม่จ้างลูกจ้างทำงานต่อไปก็ได้
ส่วนการเรียกร้องเงินต่าง ๆ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน(ซึ่งคดีนี้โจทก์เรียกร้องค่าชดเชย) นั้นลูกจ้างจักต้องกล่าวอ้างว่านายจ้าง "เลิกจ้าง" พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 118 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่ง "เลิกจ้าง" และกำหนดความหมายของการเลิกจ้างไว้ด้วยว่า"หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใดและหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป" ดังนั้น การเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 จึงเกิดจากการกระทำของนายจ้างโดยการแสดงเจตนาเลิกจ้างก็ได้ หรือเกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายในกรณีที่มีพฤติการณ์อันทำให้ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างก็ได้
บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
พฤติการณ์อย่างไรถือเป็นจงใจไม่จ่ายเงินชดเชย
ถ้าจะขยายอายุเกษียณของพนักงานควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย
เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่3
เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่ 2
ความเห็นของผู้ชม