นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างได้หรือไม่

 

1.การโยกย้ายคือ อะไร?
 คือการที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างเปลี่ยนตำแหน่งงาน หน้าที่ ลักษณะงาน หรือสถานที่ทำงาน 
 1.1 การเปลี่ยนตำแหน่ง เช่น เปลี่ยนจากผู้จัดการฝ่ายผลิต ไปฝ่ายควบคุมคุณภาพ หรือฝ่ายบุคคล  เป็นต้น 
1.2 เปลี่ยนหน้าที่งาน เช่น เปลี่ยนจากพนักงานบัญชีเป็นพนักงานการเงิน
1.3 เปลี่ยนลักษณะงาน เช่น เปลี่ยนจากทำงานในส่วนการผลิตในโรงงานมาทำงานเป็นพนักงานในสำนักงาน 
1.4 เปลี่ยนสถานที่ทำงาน เช่น ย้ายโรงงานจากระยอง จังหวัดระยอง ไปทำงานที่โรงงานชลบุรี จังหวัดชลบุรี 
 
2. การโยกย้ายเป็นอำนาจบริหารของนายจ้าง 
    มีแนวคำพิพากษาของศาลฏีกาได้วางบรรทัดฐานไว้จำนวนหลายเรื่อง เกี่ยวกับเรื่องการโยกย้ายตลอดจนการให้ความดีความชอบแก่ลูกจ้าง เป็นอำนาจการบริหาร ของนายจ้างที่จะกระทำได้ เพื่อให้กิจการของนายจ้างบรรลุผลและมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์แก่กิจการของนายจ้างมากที่สุด  
 
3.ผู้มีสิทธิสั่งโยกย้าย 
  คือนายจ้าง แต่ในทางปฏิบัตินายจ้างมักจะมอบอำนาจให้ แก่ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการฝ่ายบุคล หรือหัวหน้างาน 
   การมอบอำนาจนั้นอาจจะกระทำเป็นหนังสือมอบอำนาจ แต่ส่วนใหญ่มักเขียนมอบไว้ในระเบียบข้อบังคับในการทำงาน 
 
4.เหตุในการสั่งโยกย้าย 
 เรื่องเหตุในการสั่งโยกย้ายนี้ กฏหมายมิได้บัญญัติไว้ จึงเป็นดุลพินิจของนายจ้างที่จะสั่งโยกย้ายเมื่อใดก็ได้ ไม่ว่าจะมีเหตุหรือไม่ก็ได้ ตามที่นายจ้างเห็นเป็นการสมควร
 
 
 
 

5.หลักเกณฑ์ในการโยกย้าย 
 หลักเกณฑ์ในการโยกย้ายนั้นกฏหมายมิได้บัญญัติไว้แต่ศาลฏีกาได้มีการวางแนวไว้ สรุปแล้วการโยกย้ายนั้นมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 
 1. ตำแหน่งใหม่ต้องไม่ต่ำกว่าเดิม
 2. ค่าจ้างต้องไม่ต่ำกว่าเดิม
 3. ต้องกระทำด้วยความเป็นธรรม
          5.1 ตำแหน่งต้องไม่ต่ำกว่าเดิมหรือไม่ มีข้อพิจารณาดังนี้ 
                 5.1.1 พิจารณาจากโครงสร้างของนายจ้าง ซึ่งจะมีจำแนกเทียบตำแหน่งต่าง ๆ ไว้ 
                 5.1.2 พิจารณาจากลักษณะงาน 
                           หากเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์เป็นพิเศษ ถ้าย้ายไปตำแหน่งที่ไม่ต้อง                              ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษถือกว่าต่ำกว่าเดิม 
           5.2 ค่าจ้าง ต่ำกว่าเดิมหรือไม่ ให้ถือ ค่าจ้างตามปกติ ไม่รวมรายได้พิเศษ เช่น ค่าคอมมิชชั่น  ค่าล่วงเวลา                เงินตอบแทนเป็นพิเศษ เช่น เบี้ยกันดาร ค่าทำงานกะ ค่ายังชีพต่างจังหวัด ค่าอาหาร ค่าพาหนะ เป็นต้น 
           5.3 ต้องกระทำด้วยความเป็นธรรม 
                 การย้ายที่จะธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึง 
                  5.3.1 ความจำเป็นของนายจ้าง 
                  5.3.2 ความสุจริต 
 
 
 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน

ถ้าจะขยายอายุเกษียณของพนักงานควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ถ้าจะขยายอายุเกษียณของพนักงานควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย

อย่างไรเรียกว่าลาป่วยเท็จ?

อย่างไรเรียกว่าลาป่วยเท็จ?

นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างได้หรือไม่

นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างได้หรือไม่

คำว่าเลิกจ้างนั้นมีความสำคัญกับนายจ้างและลูกจ้างอย่างไร

คำว่าเลิกจ้างนั้นมีความสำคัญกับนายจ้างและลูกจ้างอย่างไร

ความเห็นของผู้ชม