ออกหนังสือเตือนอย่างไรให้มีผลบังคับตามกฏหมาย?

      สวัสดีครับท่านสมาชิกและท่านที่สนใจเข้ามาชมเวปของทนายทุกท่าน ในลำดับต่อไปนี้ทนายจะได้กล่าวถึงเกี่ยวเรื่องการออกหนังสือเตือนพนักงานเพราะเหตุที่พนักงานกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับหรือว่าคำสั่งอันชอบด้วยกฏหมายของบริษัท สำหรับท่านที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทให้มีอำนาจตักเตือนพนักงานที่กระทำความผิดได้คงจะต้องนึกทบทวนหรือว่าหยิบหนังสือเตือนออกมาดูว่าหนังสือดังกล่าวสามารถบังคับได้หรือไม่ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องหนังสือเตือนนี้ได้มีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลสูงมาแล้ว ซึ่งจากคำพิพากษาดังกล่าวได้วางแนวของหนังสือเตือนไว้ดังนี้

 

 

 1.หนังสือเตือนนั้นต้องออกโดยนายจ้างหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้ออกหนังสือเตือนได้ 
 2.การเดือนต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะมีผลทำให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำผิดซ้ำคำเตือนโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
 3.หนังสือเตือนต้องระบุการกระทำผิดของลูกจ้างอย่างชัดเจนโดยย่อว่า ลูกจ้างทำผิดอะไร เมื่อไร อย่างไร ที่ทำให้
    ลูกจ้างเข้าใจได้
 4.หนังสือเตือนต้องมีข้อความห้ามลูกจ้างกระทำผิดอีก หากทำผิดอีกจะได้รับโทษตามระเบียบ
 5.นาจ้างต้องแจ้งหนังสือเตือนให้ลูกจ้างทราบด้วยการให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อรับทราบหรืออ่านให้ลูกจ้างทราบ

 ต่อไปนี้ก็คงจะไม่มีความผิดพลาดในการออกหนังสือเตือนพนักงานที่กระทำความผิด อีกนะครับ
 
(จากคำพิพากษาฏีกาที่ 5222/2545)
 
 
โดย ทนายป๊อด
www.tanaypod.com

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน

พฤติการณ์อย่างไรถือเป็นจงใจไม่จ่ายเงินชดเชย

ถ้าจะขยายอายุเกษียณของพนักงานควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ถ้าจะขยายอายุเกษียณของพนักงานควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย

 เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่3

เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่3

เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่ 2

เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่ 2

ความเห็นของผู้ชม