คณะกรรมการลูกจ้างอาจแบ่งประเภทได้ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. คณะกรรมการลูกจ้างทั้งคณะที่ลูกจ้างเป็นผู้เลือกตั้ง
ได้แก่สถานประกอบกิจการที่ไม่มีสหภาพแรงงาน หรือมีสหภาพแรงงาน แต่สหภาพแรงงานนั้นมีลูกจ้างเป็นสมาชิกอยู่ไม่เกิน 1 ใน 5 ของลูกจ้างทั้งหมด
2. คณะกรรมการลูกจ้างที่ลูกจ้างแต่งตั้งและสหภาพแรงงานเป็นผู้แต่งตั้งรวมกัน
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการนั้นมีสหภาพแรงงาน และสหภาพแรงงานนั้นมีลูกจ้างเป็นสมาชิกเกินกว่า 1 ใน 5 ของลูกจ้างทั้งหมด สหภาพแรงงานนั้นมีสิทธิ์แต่งตั้งกรรมการลูกจ้างส่วนหนึ่งไปรวมกับกรรมการลูกจ้างที่ลูกจ้างอื่นเลือกตั้งมา และสหภาพแรงงานมีสิทธิ์แต่งตั้งกรรมการลูกจ้างมีจำนวนมากกว่ากรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้าง 1 คนเสมอ
3. คณะกรรกมาลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานทั้งคณะ
ได้แก้สถานประกอบกิจการที่มีสหภาพแรงงานและสหภาพแรงงานนั้นมีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งของลูกจ้างทั้งหมด สหภาพแรงงานนั้นมีสิทธิตั้งคณะกรรมการลูกจ้างทั้งหมด ในกรณีนี้ลูกจ้างธรรมดาไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างเลย
(มาตรา ๔๕ ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้
ในกรณีที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ให้คณะกรรมการลูกจ้างประกอบด้วยลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานหนึ่งคน ถ้าลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานอาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างทั้งคณะก็ได้...)
บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน