เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่3

          สวัสดีครับ....คราวนี้ทนายป๊อดทนายแรงงานจะขอพูดเรื่องเงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่ 3 ต่อจากบทความตอนที่ 1 และตอนที่ 2   ทุกท่าน...ก็พอจะเข้าใจรายละเอียดของกฎหมายแรงานที่กำหนดเกี่ยวกับ เรื่องความรับผิดชอบ และหน้าที่ของนายจ้างในการเรียกรับเงินประกันการทำงาน ประเภทการเก็บรักษา และลักษณะของงานที่สามารถที่จะเรียกรับเงินประกันได้จากบทความตอนที่ 2 ที่กำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดแจ้ง

           ถ้าทุกท่านได้อ่านบทความความทั้งสองตอน คงจะมีความเข้าใจโดยไม่ต้องใช้หลักการตีความในตัวบทกฎหมายนะครับ คราวนี้...ทนายป๊อดทนายแรงงาน ขอพูดถึงเรื่อง

           ถ้าหากว่านายจ้างฝ่าฝืนไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ผลจะเป็นเช่นไร?

           เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้กำหนดเรื่องความรับผิดของนายจ้างไว้ 2 ประเภทแห่งความรับผิด  ความรับผิดประเภทแรกคือ ความรับผิดในทางแพ่ง กับ ความรับผิดประเภทที่สอง คือ ความรับผิดในทางอาญา สำหรับท่านที่เป็นนายจ้างควรจะต้องศึกษาและรับทราบความรับผิดทางอาญาไว้ด้วยนะครับมิฉะนั้นแล้วท่านอาจจะถูกดำเนินคดีทางอาญาโดยที่ท่านไม่รู้และไม่ทราบว่ากฎหมายแรงงานได้มีการกำหนดบทลงโทษไว้สำหรับ ลงโทษนายจ้างที่ประพฤติตนฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

            ทนายป๊อดทนายแรงงานขอพูดถึงเรื่องความรับผิดในส่วนแพงก่อนนะครับ เราเปิดตัวบท พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ไปพร้อม ๆ กันนะครับ ให้เปิดไปที่ มาตรา 9  คลิ๊ก

http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/download/article/article_20110922143151.pdf
             

            ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจากบทบัญญัติข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า ความรับผิดในทางแพ่งของนายจ้างที่ฝ่าฝืนไม่คืนหลักประกันภายในกำหนด 7 วัน คือต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และหากพบว่านายจ้างมีเจตนาจงใจไม่คืนก็ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะเวลา 7 วัน ที่กล่าวมานี้คือสภาพบังคับทางแพ่งเป็นบทบัญญัติตามกฎหมายที่กำหนดให้นายจ้างต้องรับผลจากการกระทำผิดฝ่าฝืนกฎหมายครับ

          เอาละ..คราวนี้เราหันมาดูบ้างว่าบทบัญญัติลงโทษทางอาญานั้นกฎหมายฉบับนี้ได้บัญญัติไว้มีเนื้อหาว่าอย่างไร มีบทลงโทษรุนแรงขนาดไหน ให้เราเปิดดูตามมาตรา 144 ได้บัญญัติไว้ว่า คลิ๊ก  

http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/download/article/article_20110922143151.pdf

          เห็นแล้วใช่ไหมครับว่ากฎหมายได้กำหนดบทลงโทษทางอาญา สำหรับนายจ้างผู้ที่จงใจฝ่าฝืนเรื่องเงินค้ำประกันหลักเกณฑ์ว่าด้วยเงินค้ำประกันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ โดยจะต้องได้รับโทษทางอาญาถึงขั้นจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเชียวนะครับ ฉะนั้นผู้ใดเป็นนายจ้าง เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วก็ต้องมีความระมัดระวัง อย่ากระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแรงงานฉบับนี้เป็นอันขาดนะครับขอเตือนไว้ก่อนครับ.....สวัสดีครับ....ทนายป๊อดทนายแรงงาน

***********************************************************************************************

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน

พฤติการณ์อย่างไรถือเป็นจงใจไม่จ่ายเงินชดเชย

ถ้าจะขยายอายุเกษียณของพนักงานควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ถ้าจะขยายอายุเกษียณของพนักงานควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย

 เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่3

เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่3

เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่ 2

เงินค้ำประกันการทำงาน ตอนที่ 2

ความเห็นของผู้ชม