คำวินิจฉัยที่19/2555

        โจทก์ฟ้องว่า  จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ มีหน้าที่บริหารกิจการตามที่คณะกรรมการของจำเลย กำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 4 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 กันยายน 2552 ถึง 31 สิงหาคม 2556 ต่อมาจำเลยมีมติเลิกจ้างให้มีผลเลิกจ้างในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554 โดยอ้างว่า โจทก์ปฏิบัติงานมีข้อบกพร่องและไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยหลายประการ ซึ่งการเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงขอให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่ตามเดิมและให้จ่ายเงินเดือนพร้อมทั้งสิทธิประโยชน์ตามกำหนดไว้ในสัญญาจนครบ หากไม่สามารถรับโจทก์เข้าทำงานได้ ขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน 494,833 บาท ค่าชดเชยเป็นเงินจำนวน 1,484,499  บาทค่าจ้างตามสัญญาในระยะเวลาที่เหลือเป็นเงินจำนวน 10,886,326 บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำนวน 30,000,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้องแก่โจทก์

         จำเลยให้การว่าจำเลย จำเลยว่าจ้างโจทก์ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท อสมท กัด(มหาชน) ตามสัญญาจ้างบริหารเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ซึ่งการว่าจ้างโจทก์มีวัตถุประสงค์เป็นการ จ้างบริหารเพื่อมุ่งผลสำเร็จของงานไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงานในลักษณะของนายจ้างลูกจ้าง โจทก์จึงไม่ใช่พนักงานของจำเลยและจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์  คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานขอให้ยกฟ้อง
 
         ระหว่างพิจารณา ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หน้าที่บริหารกิจการของจำเลยตามภารกิจ เป้าประสงค์ และเป้าหมาย ตามที่ทางการกำหนดตลอดจนปฏิบัติตามนโยบายมติคณะรัฐมนตรีระเบียบข้อบังคับ คำสั่งของกรรมการจำเลย มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง โจทก์จึงเป็นผู้บริหารสูงสุดของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเป็น “ผู้บริหาร” ตามคำนิยามในมาตรา 4 แห่งพระบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 8 ทวิแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจไม่มีฐานะเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจนั้น ดังนั้น โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นคดีพิพาทอย่างหนึ่งอย่างใดตามพร้อมจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 
 
          วินิจฉัยว่า  คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน 
          วินิจฉัย ณ วันที่ 14 มีนาคม 2555
 
 
 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน

คำวินิจฉัยที่ 28/2559

คำวินิจฉัยที่ 28/2559

สัญญาจ้างลูกจ้างของโรงเรียนเอกชนเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่........

 คำวินิจฉัยที่19/2555

คำวินิจฉัยที่19/2555

ผู้บริหารมีฐานะเป็นพนักงานวิสาหกิจหรือไม่